“ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน” เรียนอะไร? อนาคตอย่างไร?

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น ขณะเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการจริง
ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2564 – มีนาคม พ.ศ.2565

เมื่ออุตสาหกรรมการบินทั่วโลกฟื้นตัวจากสถาณะการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ความต้องการบุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และไม่เพียงแค่อาชีพ “นักบิน” เท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาชีพสนับสนุนอื่นๆ เช่น เจ้าหน้าที่บังคับการบิน พนักงานอำนวยการบิน (Flight Operation) และ ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน ด้วย

“ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน” ถือเป็นอีกหนึ่งสายงานที่กำลังเข้าสู่สภาวะขาดแคลน เช่นเดียวกันกับนักบิน โดยบริษัทโบอิ้งและแอร์บัส บริษัทผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกได้ประมาณการความต้องการบุคลากรในสายงานดังกล่าวว่า ในปี2023-2024 ทั่วโลกจะมีความต้องการช่างเทคนิคด้านอากาศยานอีกกว่า 500,000 คน โดยเป็นภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแห่งเดียวมีสัดส่วนความต้องการเกือบ 40%

ช่างซ่อมอากาศยาน หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ช่าง Aircraft Technician มีหน้าที่ดูแล ตรวจเช็ค และซ่อมบำรุงโครงสร้างและลำตัวเครื่องบิน รวมถึงระบบของเครื่องบินและเครื่องยนต์ของอากาศยานประเภทต่างๆ เช่น

การตรวจหาสาเหตุและเปลี่ยนอุปกรณ์อากาศยานที่เสีย ชำรุด หรือหมดอายุใช้งาน โดยเน้นไปในระบบและอุปกรณ์ประเภทที่เป็น mechanical components เช่น ล้อ เบรค ปีกเครื่องบิน ประตูและล็อค ปั๊มและวาล์ว ตัวกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ เครื่องยนต์

รวมถึง กลไกต่างๆ ในระบบปรับอากาศ ระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องบิน อุปกรณ์ตรวจจับและป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ควบคุมการบิน ระบบเชื้อเพลิง ระบบไฮดรอลิก ระบบป้องกันการเกิดน้ำแข็งในอากาศยาน ระบบลงจอด ระบบปรับสภาพความดันในอากาศยาน เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องทำงานร่วมกับช่าง Avionics ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกส์

อนาคตทางสายอาชีพเป็นอย่างไร?

ช่างซ่อมบำรุงอากาศยานส่วนใหญ่เมื่อจบการศึกษาจากหลักสูตร Aircraft Maintenance  และเข้ามาในสายงานของการซ่อมบำรุงอากาศยานแล้ว ความใฝ่ฝันและเป้าหมายการทำงานต่อมาของช่างแทบทุกคนคือ การสอบ License เพื่อเป็น วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน (Licensed Aircraft Maintenance Engineer) หรือเรียกง่ายๆ ว่า ช่าง License 

ช่างซ่อมบำรุงอากาศยานถือเป็นตำแหน่งงานที่เปิดรับมากที่สุด เพราะสายการบินต้องการกำลังพลจำนวนมากในการซ่อมเครื่องบิน งานรับเครื่องส่งเครื่อง และ งานบริการ service ต่างๆ เมื่อสายการบินเปิดรับช่างซ่อมเครื่องบิน มักจะระบุคุณสมบัติผู้สมัครที่จบ Aircraft Maintenance หรือ Aero-Engineering บางครั้งระบุวุฒิขั้นต่ำ ปวส. เพราะฉะนั้นถ้าเรียนช่างอากาศยานหรือวิศวการบินก็สมัครตำแหน่งช่างซ่อมเครื่องบินได้เหมือนกัน

ซึ่งอุตสาหกรรมนี้การจบปริญญาอาจไม่ใช่ตัววัดในการเข้าทำงาน แต่เป็น ใบอนุญาต (License) ในต่างประเทศการรับช่างซ่อมจะดูจากว่าเรามีใบรับรองหรือไม่ และจะพิจารณาในส่วนนี้ร่วมกับประสบการณ์การทำงาน และในขณะที่ทำงานรับเงินเดือนอยู่ในอุตสาหกรรมการบินแล้วยังไม่ได้ใบอนุญาต จะได้รับค่าตอบแทนประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน จนสอบได้ใบอนุญาต เมื่อสอบได้ก็จะมีค่าตัวที่สูงขึ้นอีกประมาณ 2 เท่าตัว

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.admissionpremium.com/airline/news/3153